นายอุเทน โลหชิตพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2565 ว่า พฤกษา โฮลดิ้ง มีกำไรสุทธิ 2,772 ล้านบาท เติบโต 18% เมื่อเทียบกับปี 2564 โดยมีรายได้ใกล้เคียงกับปี 2564 ที่ 28,640 ล้านบาท หรือ เติบโต 1% สามารถทำกำไรขั้นต้นได้ดีขึ้น 9% สะท้อนถึงการบริหารจัดการต้นทุนของสินค้าและบริการได้ดี จากการนำวิศวกรรมคุณค่ามาใช้ (Value Engineering) ทั้งเรื่องการพัฒนาใช้แผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชนิดมีรูกลวง (Hollow Core) การออกแบบคานคอดิน (Ground Beam) และการเชื่อมซีเมนต์ (Cement Jointing) แบบใหม่ในขั้นตอนการก่อสร้าง รวมถึงการนำเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เข้ามาใช้เพื่อลดต้นทุนการก่อสร้าง จากปริมาณการใช้ซีเมนต์ที่ลดลง พร้อมกับลดค่าขนส่งและจำนวนชั่วโมงการทำงานที่ลดลงด้วย
ปีที่ผ่านมาพฤกษามุ่งเพิ่มสัดส่วนการสร้างรายได้ประจำต่อเนื่อง (Recurring Income) เพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาว จึงได้มีการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในธุรกิจใหม่ต่อเนื่องตลอดทั้งปี อาทิ การตั้งกองทุน Corporate Venture 3,500 ล้านบาท เพื่อลงทุนใน Prop Tech, Health Tech และ Sustainable Tech และล่าสุดได้ร่วมกับแคปปิตอลแลนด์ อินเวสเม้นท์ กรุ๊ป และ แอลลี่ โลจิสติกส์ พร็อพเพอร์ตี้ จัดตั้งกองทุน “CapitaLand SEA Logistics Fund” ตั้งเป้ามูลค่าอสังหาริมทรัพย์โลจิสติกส์ภายใต้การจัดการ 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ เป็นต้น
ในขณะที่สถานะทางการเงินของพฤกษายังคงแข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนเงินกู้ยืมต่อหุ้นทุนสุทธิ (Net Gearing Ratio) อยู่ในระดับต่ำที่ 0.22 เท่า และจากผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถประกาศจ่ายเงินปันผลเท่ากับ 65 สตางค์ รวมเงินปันระหว่างกาลแล้วจ่ายทั้งสิ้นเท่ากับ 96 สตางค์ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ที่มีสิทธิรับเงินปันผลในวันที่ 10 มี.ค. โดยจะนำเสนอขออนุมัติต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นในเดือนเมษายน 2565 มีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 7.4% และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 19 พ.ค. นี้
สำหรับปี2566คาดการณ์รายได้รวมของทั้งกลุ่มประมาณ30,000ล้านบาทเติบโตขึ้น5%เมื่อเทียบจากปี2565โดยคาดว่าจะได้รับแรงสนับสนุนมาจากธุรกิจอสังหาฯที่จะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งสิ้น23โครงการมูลค่ารวมกว่า23,500ล้านบาทและยังมีแผนการลงทุนในธุรกิจใหม่อีกราว6,000ล้านบาทด้วยซึ่งการลงทุนในธุรกิจใหม่จะเริ่มมีความชัดเจนทั้งธุรกิจโลจิสติกส์รวมถึงการปรับโครงสร้างของธุรกิจพรีคาสท์ที่คาดว่าจะมีรายได้ขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนงานการสร้างความยั่งยืนแก่องค์กรต่อไป
ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นายปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2565 พฤกษาทำรายได้ 27,191 ล้านบาท เปิดโครงการใหม่รวม 19 โครงการ มูลค่า 11,100 ล้านบาทและในปี 2566 วางกลยุทธ์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้พอร์ตโฟลิโอ (Portfolio) มีแผนเปิดโครงการใหม่ 23 โครงการ แบ่งเป็นโครงการบ้านเดี่ยว 8 โครงการ ทาวน์เฮาส์ 11 โครงการ และ คอนโดมิเนียม 4 โครงการ รวมมูลค่าทั้งหมดราว 23,500 ล้านบาท มุ่งเพิ่มกลุ่มสินค้าที่จับกลุ่มลูกค้าในเซ็กเม้นต์ระดับกลางไปสูง โดยมีแผนเปิดบ้านเดี่ยวพรีเมียมถึง 3 โครงการ ได้แก่ เดอะปาล์มวัชรพล เดอะปาล์มบางนาวงแหวน และ เดอะปาล์มพัฒนาการ พร้อมมุ่งบริหารสินทรัพย์ที่มีในมือ โดยมีที่อยู่อาศัยโครงการปัจจุบันที่ยังเปิดขายอยู่ทั่วประเทศ รวมมูลค่าราว 69,900 ล้านบาท 158 โครงการ
ปี 2566 บริษัทตั้งเป้ายอดขายที่ 24,000 ล้านบาท และตั้งเป้ายอดโอนที่ 28,000 ล้านบาท มุ่งสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อลูกค้า (Customer Value) ด้วยการพัฒนาลิฟวิ่งโซลูชั่น (Living Solution) รองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปตามเมกะเทรนด์ของโลก โดยคำนึงถึงการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) อย่างต่อเนื่อง และในปีนี้ มีแผนการซื้อที่ดินราว 5,000 ล้านบาท มุ่งเน้นทำเลที่มีศักยภาพเพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ในระดับพรีเมียมเพิ่มขึ้น และมุ่งผสานความร่วมมือระหว่างธุรกิจในเครือพฤกษาทั้งธุรกิจด้านสุขภาพ และธุรกิจอื่นในเครือที่กำลังจะเปิดตัวในปีนี้ด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ด้านธุรกิจเฮลท์แคร์ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรงพยาบาลวิมุต โฮลดิ้ง จำกัด เปิดเผยผลการดำเนินงานปี 2565 ว่า วิมุตทำรายได้เติบโตแบบก้าวกระโดด 1,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.7 เท่า จากปี 2564 ซึ่ง 80% เป็นรายได้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 แม้ว่ารายได้จากโรคที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ลดลงในปีที่ผ่านมา แต่สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้น จากการขยายเครือข่ายระบบนิเวศ หรือ Ecosystem ของโรงพยาบาล ได้แก่ เวลเนสต์ เซ็นเตอร์ บ้านหมอวิมุต โรงพยาบาลเทพธารินทร์ บริการผ่านดิจิตัลแพลตฟอร์ม ทั้งแอปพลิเคชัน เทเลเมดิซีน ไปจนถึงความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ เสริมทัพด้วยรายได้จากโรงพยาบาลเทพธารินทร์ ที่มีผลการดำเนินงานดีขึ้นด้วย ประกอบกับปีที่ผ่านมาวิมุตสร้างความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างชาติ ทำให้จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลมีจำนวนสูงขึ้น 3.2 เท่าด้วย ในปี 2566 ทางกลุ่มมีแผนการลงทุนราว 2,500 ล้านบาท มุ่งเน้นการสร้างและเปิดศูนย์สุขภาพ (Health Center) เพิ่มอีก 3 แห่ง และเตรียมงานพัฒนาโรงพยาบาลวิมุตที่ปิ่นเกล้า